วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2551

แนวข้อสอบวิชาจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร

สรุปเสร็จ 1
สรุปแนวข้อสอบข้อที่ 1 ( ประเด็นที่ 1 )
วิชา จริยธรรมสำหรับนักบริหารท้องถิ่น ( Ethics for Local Administrator )
คุณธรรมสำหรับนักบริหาร
กรอบความคิดคุณธรรมสำหรับผู้บริหาร
- อธิปไตยสูตร หรือ อธิปไตย 3
1) อัตตาธิปไตย คือ การถือตนเองเป็นใหญ่
2) ธรรมาธิปไตย คือ การถือธรรมหรือหลักการเป็นสำคัญ
3) โลกาธิปไตย คือ การถือคนอื่นเป็นใหญ่

สรุป
นักบริหาร คือ ผู้ทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยคนอื่นเขา บริหารงานด้วยธรรมาธิปไตยที่ถือหลักการและความสำเร็จของงานเป็นใหญ่จึงเป็นผู้นำที่นั่งอยู่ในหัวใจของคนร่วมงานทั้งนี้เพราะเขามีธรรมเป็นพลังในการบริหารงาน 4 ประการคือ
- ปัญญาพละ คือกำลังแห่งความรอบรู้เรื่องตน เรื่องคน และเรื่องงาน
- วิริยพละ คือกำลังแห่งความขยันที่ปลุกใจตนเองและคนอื่นตลอดเวลา
- อนวัชชพละ คือกำลังแห่งความสุจริตที่ปราศจากรูรั่วแห่งชีวิตอันเกิดจากอบายมุข
- สังคหพละ กำลังแห่งมนุษย์สัมพัมพันธ์ที่ประสานใจคนร่วมงานเข้าด้วยความโอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ประชาชน และวางตนพอดี

“ โง่ไม่เป็นเป็นใหญ่ยากฝากให้คิด
ทางชีวิตจะรุ่งโรจน์โสตถิผล
ต้องรู้โง่รู้ฉลาดปราดเปรื่องตน
โง่สิบหนดีกว่าเบ่งเก่งเดี๋ยวเดียว ”


สรุปแนวข้อสอบข้อที่ 2 ( ประเด็นที่ 2 )
วิชา จริยธรรมสำหรับนักบริหารท้องถิ่น ( Ethics for Local Administrator )
ความรับผิดชอบในหน้าที่
เป็นความรับผิดชอบต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล หรือเป็นการกำหนดหน้าที่กว้างๆสำหรับทุกคนที่เข้ามารับตำแหน่งเดียวกัน
-ความรับผิดชอบในหน้าที่
1. ความรับผิดชอบต่อนักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งด้วยการปฏิบัติตามกฎหมาย
2. ความรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
3. ความรับผิดชอบต่อประชาชน
- ความรับผิดชอบตามจิตสำนึก
เกิดจากความเชื่อ ความรู้สึกของเราเกี่ยวกับความรับผิดชอบ ซึ่งเกิดจากกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ที่ได้รับจากครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน กลุ่มเพื่อน หรือการทำงานในองค์กร

ความขัดแย้งของอำนาจหน้าที่
เกิดจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ถูกกำหนดมาจากหลายแหล่ง เช่นกฎหมาย ผู้บังคับบัญชา นักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง และประชาชน
ความขัดแย้งของบทบาท
ค่านิยมที่สัมพันธ์กับบทบาทบางอย่างอาจไม่สอดคล้องกันหรือไม่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้ในสถานการณ์หนึ่งๆ เช่นบทบาทการเป็นผู้บริหารท้องถิ่นอาจขัดแย้งกับบทบาทภายนอก อปท.
ความขัดแย้งของผลประโยชน์
คือสถานการณ์ที่ผลประโยชน์ของเราขัดแย้งกับหน้าที่ของเราในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอาจเป็นการผสมผสานกันระหว่างบทบาทที่ขัดแย้งกันและความไม่สอดคล้องกันระหว่างแหล่งที่มาของอำนาจการควบคุมทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างความรับผิดชอบในหน้าที่และโอกาสในการแสวงหาผลประโยชน์หรือความได้เปรียบให้กับตัวเอง

สรุปแนวข้อสอบข้อที่ 3 ( ประเด็นที่ 3 )
วิชา จริยธรรมสำหรับนักบริหารท้องถิ่น ( Ethics for Local Administrator )
การตัดสินใจ
การตัดสินใจทางการบริหาร
การตัดสินใจทางจริยธรรม
ประเด็นปัญหา

-ปัญหาวิกฤต เป็นปัญหาที่ผู้บริหารจำเป็นต้องตัดสินใจดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนไม่เช่นนั้นจะส่งผลเสียหายต่อองค์กรอย่างมาก
-ปัญหาไม่วิกฤต เป็นปัญหาที่ผู้บริหารจำเป็นต้องแก้ไขแต่ไม่เร่งด่วนผู้บริหารจึงมีเวลาเตรียมการตัดสินใจแก้ไขปัญหาค่อนข้างมาก
-ปัญหาที่เป็นโอกาส เป็นปัญหาที่ไม่วิกฤตประเภทหนึ่ง แฝงไว้ด้วยศักยภาพและโอกาสแห่งความสำเร็จขององค์การ
การตัดสินใจทางการบริหาร
ผู้บริหารจำเป็นต้องตัดสินใจให้ทันท่วงทีขณะที่ปัญหาบางอย่างไม่เร่งด่วนและสามารถชะลอการตัดสินใจออกไปก่อนได้ ไม่ว่าการตัดสินใจจะมีอุปสรรคหรือข้อจำกัดผู้บริหารก็ยังจำเป็นต้องตัดสินใจเพื่อหาทางแก้ไขหรือคลี่คลายปัญหาทางการบริหารจัดการ

กระบวนการตัดสินใจ
1. การกำหนดประเด็นปัญหา ผู้บริหารที่ไม่ได้พิจารณาประเด็นปัญหาอย่างรอบคอบอาจเข้าใจว่าอาการของปัญหา คือต้นเหตุแห่งปัญหา และทำให้การตัดสินใจเป็นเพียงการแก้ไขอาการของปัญหา ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ
2. การสร้างทางเลือก เทคนิคหนึ่งที่ผู้บริหารเลือกใช้ในการสร้างทางเลือกได้คือการระดมสมอง
3. การประเมินทางเลือก ควรพิจารณาจากประเด็นต่างๆดังนี้
-ความเป็นไปได้
-คุณภาพทางเลือก
-การยอมรับจากผู้เกี่ยวข้อง
-ต้นทุน
4. การตัดสินเลือก หากมีทางเลือกที่เหมาะสมมากกว่าหนึ่งก็ยอมสามารถเลือกทางเลือกได้
5. การประเมินผลลัพท์และการปฏิบัติตามทางเลือก

การตัดสินใจทางจริยธรรม
ขั้นตอนในการตัดสินใจทางจริยธรรม
1 อธิบายสถานการณ์
2 การระบุประเด็นทางจริยธรรม
3 การระบุทางเลือกปฏิบัติ
4 การคาดการณ์ถึงผลลัพธ์
5 ตัดสินใจว่าจะเลือกทำอะไร

สรุปแนวข้อสอบข้อที่ 4 ( ประเด็นที่ 4 )
วิชา จริยธรรมสำหรับนักบริหารท้องถิ่น ( Ethics for Local Administrator )
การพัฒนาคนหรือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
แบ่งเป็น
-พัฒนากาย
-พัฒนาจิต
หลักสำคัญของพระพุทธศาสนาคือ
-ทาน คือการให้
-ศีล คือ การควบคุมกายวาจาให้อยู่ในกรอบของระเบียบวินัย
-ภาวนา คือ การอบรมจิตใจให้ เย็น สงบ นิ่ง และเจริญปัญญา
การพัฒนาท้องถิ่นด้านการเมือง
- หลัก ราชสังคหะ หมายถึง หลักการสังคมสงเคราะห์ ของทางราชการ ซึ่งผู้ปกครองจะพึงถือปฎิบัติ เพื่อสงเคราะห์ผู้คนให้มีความร่มเย็นเป็นสุข
1 สัสสเมธัง + ส่งเสริมการเกษตร
2 ปุริสเมธัง + รู้จักสร้างคน ยกย่องคนที่ควรยกย่อง
3 สัมมาปาสัง + ผูกน้ำใจคน
4 วาจาเปยยัง + พูดจาเพราะน่าเชื่อถือ
- หลักทศพิธราชธรรม
- หลักอปริหานิยธรรม คือ หลักธรรมที่เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม
การเสริมสร้างคุณธรรม-จริยธรรมสำหรับนักบริหาร
นักบริหารที่ดีควรมีหลักธรรมสำหรับพัฒนาตน เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม ได้แก่
1. ศีล คือ การสำรวมระวัง ความประพฤติปฏิบัติ ทางกาย และทางวาจา ให้เรียบร้อยดีงามไม่ประพฤติเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
2. สมาธิ คือการรักษาใจให้ผ่องใสปราศจากกิเลสนิวรณ์ แล้วให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดี่ยว
3. ปัญญา คือ การรอบรู้กองสังขาร รอบรู้สภาวธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขาร) และที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขาร คือพระนิพาน) และรู้แจ้งเห็นแจ้งพระอริยสัจ 4 รวมเป็นผู้มีปัญญาอันเห็นชอบรอบรู้ทางเจริญ ทางเสื่อม แห่งชีวิต ตามที่เป็นจริง
ศีล สมาธิ และปัญญานี้ รวมเรียกว่า ไตรสิกขา คือ หลักธรรมที่ควรศึกษาปฏิบัติ 3 ประการ

ขอให้โชคดีทุกท่าน
(ยากแฮงเพราะบ่อค่อยรู้เรื่องท่อใด)
สรุปได้สำนี่หละ

ไม่มีความคิดเห็น: