วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วิชา วัฒนธรรมไทย(Thai Cultural)

นักวิชาการวัฒนธรรมหลายท่านได้ให้คำจำกัดความ คำว่า "วัฒนธรรม" ไว้ดังนี้


1.วัฒนธรรม หมายถึง
มีความหมายครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นแบบแผนในความคิด และการกระทำที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง มนุษย์ได้คิดสร้างระเบียบกฎเกณฑ์วิธีการในการปฏิบัติ การจัดระเบียบตลอดจนความเชื่อ ความนิยม ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการควบคุม และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ (สุพัตรา สุภาพ, 2528)

2.Taylor
กล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นส่วนทั้งหมดที่ซับซ้อน ประกอบด้วยความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ ศีลธรรม กฎหมาย ประเพณี และความสามารถอื่น ๆ ที่มนุษย์ได้มาในฐานะเป็นสมาชิกของ สังคม

3.Broom และ Zelznick (1969)
อธิบายว่า วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคมที่ประกอบด้วยความรู้ ความเชื่อ ประเพณี และความชำนิชำนาญที่คนเราได้มาในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม

4.Bierstedt, Meehan และ Samuelson (1964)
กล่าวว่า วัฒนธรรมคือ ส่วนทั้งหมดอันซับซ้อน ประกอบด้วยทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาคิดและทำในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม

5.คำว่าวัฒนธรรม
เป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ธรรม เป็นต้นเหตุให้เจริญ หรือธรรมคือความเจริญมีใช้เป็นหลักฐานทางราชการ ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2543 เรียกว่า พระราช บัญญัติบำรุงวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2543 กับฉบับที่ 2 เมื่อ พุทธศักราช 2485 (สุชีพ ปุญญานุภาพ, 2500)

6.คำว่าวัฒนธรรม
ตามที่กล่าวมาเป็นคำสมาสระหว่างภาษาบาลีกับสันสกฤต เพราะคำว่า วัฒน มาจาก คำบาลีว่า วฑฺฒน ซึ่งแปลว่า เจริญ งอกงามส่วนคำว่า "ธรรม" มาจากภาษาสันสฤตว่า ธรฺม (ใช้ในรูปภาษาไทย-ธรรม) เขียนตาม รูปบาลีล้วน ๆ คือ "วฑฺฒนธมฺม" หมายถึง ความดี ซึ่งหากแปลตามรากศัพท์คือ สภาพ อันเป็นความเจริญงอกงาม หรือลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงามนอกจากนี้ คำว่า วัฒนธรรมตรง กับภาษาอังกฤษว่า culture และคำว่า culture นี้มีที่มาจากภาษาฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสเองเอามาจากภาษาละติน คือ cultura อีกต่อหนึ่ง

7.Encyclopedia of Social Science
ในหนังสือ Encyclopedia of Social Science หน้า 621 ได้อธิบายคำว่า วัฒนธรรม (Culture) ว่า เป็นคำที่ใช้ในวิชามานุษยวิทยาสมัยใหม่ (Modern Anthropology) และในทางด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) หมายถึง มรดกของสังคม (Social Heritage) เป็นลักษณะเฉพาะในการดำรงชีวิต ของกลุ่มคนที่มาอยู่ร่วมกัน และได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เจริญตามยุคสมัย (อ้างใน สุพัตรา สุภาพ, 2528)

8.วัฒนธรรมในภาษาไทย
ส่วนความหมายของวัฒนธรรมในภาษาไทยนั้น ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485 ได้ให้ความหมายไว้ดังต่อไปนี้
"วัฒนธรรม" หมายถึง ลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบ ความกลมเกลียว ก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน (เป็นการชี้ชวน เชิญชวน วิงวอนให้ประชาชนร่วมกัน ทำให้เกิดความเจริญงอกงาม ให้มีความดีงามขึ้น ไม่ใช่เพียงแต่รับมรดกกันมา แต่จะต้องรักษาของเดิมที่ดี แก้ไขดัดแปลงของเดิมที่ควรแก้ หรือดัดแปลงวางมาตรฐานความดีความงามขึ้นใหม่ แล้วส่งเสริมให้เป็น ลักษณะที่ดีประจำชาติสืบต่อไปจนถึงอนุชนรุ่นหลัง

9.คำว่า วัฒนธรรม
คำว่า "วัฒนธรรม" ถอดศัพท์มาจาก "culture" ของภาษาอังกฤษ ซึ่งมี รากศัพท์มาจาก "cultura" ในภาษาละติน มีความหมายว่า การเพาะปลูกหรือการปลูกฝัง อธิบายได้ว่ามนุษย์เป็นผู้ปลูกฝังอบรมบ่มนิสัยให้เกิดความเจริญงอกงาม
"วัฒนธรรม" เป็นคำสมาส คือการรวมคำสองคำเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ "วัฒนะ" ซึ่งมีความหมายทั่วไปว่า เจริญงอกงาม รุ่งเรือง "ธรรม" ซึ่งในที่นี้หมายถึง กฎ ระเบียบหรือข้อปฏิบัติ เพราะฉนั้นเมื่อพูดถึงคำว่า "วัฒนธรรม" ในความหมายทั่วไป หมายถึงความเป็นระเบียบ ความมีวินัย เช่นเมื่อพูดถึงบุคคลหนึ่งว่า "เป็นคนมีวัฒนธรรม" ก็มักหมายความว่าเป็นคนมีระเบียบวินัย เป็นต้น

"วัฒนธรรม" เป็นศัพท์ทางวิชาการ (Technical Vocabulary) ซึ่งในทรรศนะของสังคมวิทยา หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต กระสวนแห่งพฤติกรรม และบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ และความรู้ เป็นต้น

10.พระยาอนุมานราชธน
พระยาอนุมานราชธนได้ อธิบายคำว่า วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรนหรือผลิตขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตมนุษย์ในส่วนรวมที่ถ่ายทอดกันได้เลียนแบบกันได้ เอาอย่างกันได้

11.วัฒนธรรมคือ
สิ่งอันเป็นผลผลิตของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณี กันมา
วัฒนธรรม คือการคิดเห็น ความรู้สึก ความประพฤติและกิริยาอาการ หรือการกระทำใด ๆ ของมนุษย์ ในส่วนรวม ลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกันและสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษา ศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบ ประเพณี เป็นต้น

วัฒนธรรม คือ มรดกแห่งสังคมซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม (อานนท์ อาภาภิรม, 2525)

12.วัฒนธรรม ในความหมายทางสังคมวิทยา
"วัฒนธรรม" ในความหมายทางสังคมวิทยา คือ วิถีการดำเนินชีวิตและกระสวนแห่ง พฤติกรรม และบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ ความรู้ เป็นต้น

13.วัฒนธรรมหมายถึง
ความเจริญงอกงาม ซึ่งเป็นผลจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ จำแนกออกเป็น 3 ด้าน คือ จิตใจ สังคม และวัตถุ มีการสั่งสมและ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง จนกลายเป็นแบบแผนที่สามารถ เรียนรู้และก่อให้เกิดผลิตกรรมและผลิตผล ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม อันควรค่าแก่การวิจัย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ถ่ายทอด เสริมสร้างเอตทัคคะ และแลกเปลี่ยน เพื่อสร้างดุลยภาพแห่งความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม และธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอย่างมีสุข สันติสุข และอิสรภาพ อันเป็นพื้นฐานแห่งอารยธรรมของมนุษยชาติ (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2535)

14.วัฒนธรรมคือ
วิถีชีวิตของคนในสังคม เป็นแบบแผนประพฤติปฏิบัติและการแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิด ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถเข้าใจ ซาบซึ้ง ยอมรับและใช้ปฏิบัติร่วมกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมนั้น ๆ (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2535)

15.วัฒนธรรมห หมายถึง
สิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามแก่หมู่คณะ วิถีชีวิตของหมู่คณะ ในพระราชบัญญัติวัฒนธรรม พุทธศักราช 2485 หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน ทางวิทยาการ หมายถึง พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิต สร้างขึ้นด้วยกัน เรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525)

16.วัฒนธรรม ตามความหมายที่พระเทพเวที (ประยุทธ์ ประยุคโต)
ให้ไว้ในการ ปฐกถาพิเศษ เนื่องใน งานฉลอง 100 ปี พระยาอนุมานราชธน เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2531 คือ วัฒนธรรมเป็นผลรวมของ การสั่งสมสร้างสรรค์ภูมิธรรมภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาของสังคมนั้น ๆ หรือกล่าวสั้น ๆ ได้ว่า วัฒนธรรมคือ ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ที่สังคมนั้นมีอยู่หรือเนื้อตัวทั้งหมดของสังคมนั่นเอง (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2532)

17.วัฒนธรรมเป็นผลงานด้านต่าง ๆ
ที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นโดยผ่านการคัดเลือกปรับปรุงและยึดถือสืบทอด กันมาจนถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมเป็นทั้งลักษณะนิสัยของคนหรือกลุ่มคนในชาติ ลัทธิความเชื่อ ภาษา ขนบธรรมเนียม อาหารการกิน เครื่องใช้ไม้สอย ศิลปะต่าง ๆ และการประพฤติปฏิบัติในสังคม

วัฒนธรรมเป็นมรดกสังคมที่คนในชาติรับไว้ และจะต้องวิวัฒนาการต่อไปในอนาคต

วัฒนธรรมไทยเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย เป็นรากฐานของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและของการสร้างสรรค์ความมั่นคงของชาติ

วัฒนธรรมแสดงศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ และความภูมิใจร่วมกันของคนไทย (คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ จัดทำหนังสือเกี่ยวกับประเทศไทยสำหรับเยาวชน ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ, 2525)

18.วัฒนธรรม
เป็นคำที่เกิดขึ้นในภาษาไทย ในสมัยที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้มองเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ คำเดิมภาษาอังกฤษ คือ "Culture" ในตอนแรก "พระมหาหรุ่น" แห่งวัดมหาธาตุได้แปลคำนี้ว่า "ภูมิธรรม" แต่กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเล็งเห็นว่า คำว่า "ภูมิธรรม" มีความหมายค่อนข้างคงที่ พระองค์ท่านทรงมีความประสงค์ให้คำนี้มีความหมายในลักษณะเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงทรงแปลใหม่เป็น "วัฒนธรรม" และมีการนำมาใช้สืบต่อมาตลอดสมัยที่ประเทศไทยมีกระทรวงวัฒนธรรมและคงใช้อยู่ในปัจจุบัน (วีระ บำรุงรักษ์, ระบบการจัดวัฒนธรรมและคุณภาพมาตรฐาน, มปป.)

19.วัฒนธรรมคือ
คือ ส่วนประกอบที่สลับซับซ้อนทั้งหมดของลักษณะอันชัดเจนของจิตวิญญาณ วัตถุ สติปัญญาและอารมณ์ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นสังคมหรือหมู่คณะ วัฒนธรรมมิได้หมายถึงเฉพาะเพียงศิลปะและวรรรกรรมเท่านั้น แต่หมายถึงฐานนิยมต่าง ๆ ของชีวิต สิทธิพื้นฐานต่าง ๆ ของมนุษย์ ระบบค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อ (วีระ บำรุงรักษ์, 2525)

20.วัฒนธรรมหมายถึง
ความดี ความงาม และความเจริญในชีวิตมนุษย์ ซึ่งปรากฏในรูปธรรมต่าง ๆ และได้ตกทอดมาถึงเราในปัจจุบัน หรือว่าที่เราได้ปรับปรุงและสร้างสรรค์ขึ้นในสมัยของเราเอง (สาโรช บัวศรี, 2531)

ฮีตสิบสอง (ประเพณีสิบสองเดือน)

ขนบธรรมเนียมประเพณีของอีสานแตกต่างจากภาคกลางตรงที่ ขนบธรรมเนียม ประเพณีของภาคกลางได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู และคัมภีร์พระมนูธรรมศาสตร์ ส่วนขนบ- ธรรมเนียมของอีสานได้รับอิทธิพลจากล้านช้าง เข้าใจว่าวัฒนธรรมล้านช้างได้รับอิทธิพลจาก วัฒนธรรมจีน นั่นคือ การเคารพบรรพบุรุษ ผีปู่ตา ผีแถน ผีฟ้า ผีตาแฮก (ผีนาผีไร่) ขนบธรรมเนียม ประเพณีของภาคกลางจึงมีลักษณะเป็นพราหมณ์มากกว่าพุทธ ฮีตสิบสอง หรือ จารีตประเพณี ประจำสิบสองเดือน ที่สมาชิกในสังคมได้มีโอกาสร่วมชุมนุมกันทำบุญ เป็นประจำเดือนในทุกๆ เดือนของรอบปี "ฮีต" มาจากคำว่า "จารีต" ถือเป็นจรรยาของสังคม ถ้าฝ่าฝืนมีความผิด เรียกว่า ผิดฮีต หมายถึง ผิดจารีต ซึ่งฮีตสิบสองมีรายละเอียดดังนี้

เดือนเจียง (เดือนอ้าย)
นิมนต์สังฆเจ้าเข้ากรรมฯ ชาวบ้านเลี้ยงผีแกนและผีต่างๆ ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนเจียง เข้ากลายมาแถมถ่าย ฝูงหมู่สังฆเจ้าก็เตรียมเข้าอยู่กรรม มันหาธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน อย่าได้ละห่างเว้นเข็นสิข่องแล่นนำ แท้แหล่ว
บุญเข้ากรรม เป็นเดือนที่พระสงฆ์เข้ากรรม (ปริวาสกรรม) เพื่อให้พระสงฆ์ผู้กระทำผิด ได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์ เป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตน และมุ่งประพฤติตนให้ ถูกต้องตามพระธรรมวินัยต่อไป ทางด้านฆราวาสก็จะมีการทำบุญเลี้ยงผีต่างๆ
เดือนยี่
ฮีตหนึ่งนั้น พอแต่เดือนยี่ได้ล้ำล่วงมาเถิง ให้พากันหาฟืนสู่คนโฮมไว้ อย่าได้ไลคองนี้ มันสิสูญเสียเปล่า ข้าวและของหมู่นั้นสิหายเสี่ยงบ่ยัง จงให้ฟังคองนี้แนวกลอนเฮาบอก อย่าเอาใด ดอกแท้เข็นฮ้ายแล่นเถิงเจ้าเอย
หลังการเก็บเกี่ยวจะทำบุญคูณข้าวหรือบุญคูณลาน นิมนต์พระสวดมนต์เย็น เพื่อเป็น มงคลแก่ข้าวเปลือก รุ่งเช้าเมื่อพระฉันเช้าแล้วจะทำพิธีสู่ขวัญข้าว นอกจากนี้ชาวบ้านจะเตรียม เก็บสะสมฟืนไว้หุงต้มที่บ้าน ดังคำโบราณว่า .... เถิงฤดูเดือนยี่มาฮอดแล้ว ให้นิมนต์พระสงฆ์ องค์เจ้ามาตั้งสวดมุงคูณเอาบุญคูณข้าว เตรียมเข้าป่าหาไม้เฮ็ดหลัว เฮ็ดฟืนไว้นั่นก่อน อย่าได้ หลงลืมถิ่น ฮีตของเก่าเฮาเดอ...

เดือนสาม
ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันจี่ข้าวจี่ไปถวายสังฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ กุศลยัง สินำค้ำตามเฮามื้อละคาบ หากธรรมเนียมจั่งซี้มันแท้แต่นาน ให้ทำบุญไปทุกบ้านทุกที่เอาบุญพ่อ เอย คองหากเคยมีมาแต่ปางปฐมพุ้น อย่าพากันไลถิ่มประเพณีตั้งแต่เก่า บ้านเมืองเฮาสิเศร้า ภัยฮ้ายสิแล่นตาม
ในมื้อเพ็ง (วันเพ็ญ เดือนสาม) จะมีการทำบุญข้าวจี่และบุญมาฆบูชา การทำบุญข้าวจี่ จะเริ่มตอนเช้า โดยใช้ข้าวเหนียวปั้นใส่น้ำอ้อย นำไปจี่บนไฟอ่อนแล้วชุบด้วยไข่ เมื่อสุกแล้วนำไป ถวายพระ ดังความว่า
“…. พอเถิงเดือนสามคล้อย เจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ปั้นข้าวจี่บ่ใส่น้ำอ้อย จัวน้อยเช็ดน้ำตา...”
เดือนสี่
ฮีตหนึ่ง พอเถิงเดือนสี่ได้ให้เก็บดอกบุปผา มาลาดวงหอมสู่คนเก็บไว้ อย่าได้ไลหนีเว้น แนวคองตั้งแต่เก่า ไฟทั้งหลายสิแล่นเข้าเผาบ้านสิเสื่อมสูญ ให้ฝูงซาวเฮาแท้อย่าไลคองตั้งแต่ก่อน มันสิหมองเศร้าเมืองบ้านสิทุกข์จนแท้แหล่ว
ทำบุญพระเวสฟังเทศน์มหาชาติ มูลเหตุเนื่องมาจากพระคัมภีร์มาลัยหมื่นและมาลัย แสนว่า ถ้าผู้ใดปรารถนาที่จะพบพระศรีอริยะเมตไตย หรือเข้าถึงศาสนาของพระพุทธองค์แล้ว จง อย่าฆ่าบิดามารดา สมณะ พราหมณาจารย์ อย่ายุยงให้พระสงฆ์แตกสามัคคีกัน กับให้อุตส่าห์ฟัง เทศนาเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดกให้จบสิ้นภายในวันเดีนว เป็นต้น ในงานบุญนี้มักจะมีผู้นำ ของมาถวายพระ ซึ่งเรียกว่า “กัณฑ์หลอน” หรือถ้าจะถวายเจาะจงเฉพาะพระนักเทศน์ที่ตนนิมนต์ มา ก็เรียกว่า “กัณฑ์จอบ” เพราะต้องแอบซุ่มดูให้แน่เสียก่อนว่าใช่พระรูปที่จะถวายเฉพาะเจาะจง หรือไม่?
เดือนห้า
ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนห้าได้พวกไพร่ซาวเมือง จงพากันสรงน้ำขัดสีพุทธรูป ให้ทำทุกวัด แท้อย่าไลม้างห่างเสีย ให้พากันทำแท้ๆ ไผๆ บ่ได้ว่า ทุกทั่วทีปแผ่นหล้าให้ทำแท้สู่คน จั่งสิสุขยิ่งล้น ทำถืกคำสอน ถือฮีตคองควรถือแต่ปฐมพุ้น
ตรุษสงกรานต์หรือบุญสรงน้ำ การสรงน้ำมีการรดน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์ ผู้หลักผู้ใหญ่ ด้วยน้ำอบน้ำหอมเพื่อขอขมาและขอพร เป็นประเพณีอันดีงามควรรักษาไว้ มีการทำบุญถวายทาน การทำบุญสรงน้ำกำหนดเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนห้า บางทีเรียกว่า บุญเดือนห้า ถือเป็นเดือนสำคัญ เพราะเป็นเดือนเริ่มต้นปีใหม่ไทย

เดือนหก
ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนหกแล้วให้นำเอาน้ำวารีสรงโสก ฮดพระพุทธรูปเหนือใต้สู่ภาย อย่าได้ละเบี่ยงบ้ายปัดป่ายหายหยุด มันสิสูญเสียศรีต่ำไปเมือหน้า จงพากันทำแท้แนวคองฮีตเก่า เอาบุญไปเรื่อยๆ อย่าถอยหน้าหากสิเสีย
เดือนหกทำบุญบั้งไฟและบุญวันวิสาขบูชา การทำบุญบั้งไฟเพื่อขอฝน และจะมีงาน บวชนาคพร้อมกันด้วย การทำบุญเดือนหกเป็นงานสำคัญก่อนการทำนา หมู่บ้านใกล้เคียงจะนำ เอาบั้งไฟมาจุดประชันขันแข่งกัน หมู่บ้านที่รับเป็นเจ้าภาพจะจัดอาหาร เหล้ายามาเลี้ยงโดยไม่คิด มูลค่า เมื่อถึงเวลาก็จะตั้งขบวนแห่บั้งไฟและรำเซิ้งออกไป ณ ลานที่จุดบั้งไฟ การเซิ้งจะกระทำด้วย ความสนุกสนาน ไม่มีการทะเลาะวิวาท คำเซิ้งและการแสดงประกอบจะออกไปในเรื่องเพศ แต่ก็ไม่ ถือสาหรือคิดเป็นเรื่องหยาบคายแต่อย่างใด (ไปชมประเพณียิ่งใหญ่นี้ได้ที่จังหวัดยโสธร ช่วงต้น เดือนพฤษภาคมของทุกปี) ส่วนการทำบุญวิสาขบูชานั้น ก็มีการทำบุญเลี้ยงพระ ฟังเทศน์ ช่วงเย็น มีการเวียนเทียนเช่นเดียวกับภาคอื่นๆ
เดือนเจ็ด
ฮีตหนึ่งนั้น พอเมื่อเดือนเจ็ดแล้วจงพากันบูชาราช ฝูงหมู่เทพเหล่านั้นบูชาแท้สู่ภาย ตลอดไปฮอดอ้ายอาฮักษ์ใหญ่มเหสัก ทั้งหลักเมืองสู่หนบูชาเจ้า พากันเอาใจตั้งทำตามฮีตเก่า นิมนต์สังฆเจ้าขำระแท้สวดมนต์ ให้ฝูงคนเมืองนั้นทำกันอย่าได้ห่าง สูตรชำระเมืองอย่าค้างสิเสีย เศร้าต่ำศูนย์ ทุกข์สิแล่นวุ่นๆ มาโฮมใส่เต็มเมือง มันสิเคืองคำขัดต่ำลงศูนย์เศร้า ให้เจ้าทำตามนี้ แนวเฮาสิกล่าว จึงสิสุขอยู่สร้างสวรรค์ฟ้าเกิ่งกัน ทุกข์หมื่นฮ้อยซั้นบ่มีว่าพาน ปานกับเมืองสวรรค์ สุขเกิ่งกันเทียมได้
เดือนเจ็ดทำบุญซำฮะ (ล้าง) หรือบุญบูชาบรรพบุรุษ มีการเซ่นสรวงหลักเมือง หลักบ้าน ปู่ตา ผีตาแฮก ผีเมือง เป็นการทำบุญเพื่อระลึกถึงผู้มีพระคุณ
เดือนแปด
ฮีตหนึ่งนั้น พอเถิงเดือนแปดได้ล้ำล่วงมาเถิง ฝูงหมู่สังโฆคุณเข้าวัสสาจำจ้อย ทำตาม ฮอยของเจ้าพระโคดมทำก่อน บ่ทะลอนเลิกม้างทำแท้สู่ภาย แล้วจงพากันผ่ายหาของไปเททอด ทำทานไปอย่าได้คร้านเอาไว้หมู่บุญ สิเป็นของหนุนเจ้าไปเทิงอากาศ สู่สวรรค์บ่ฮ้อนด้วยบุญนี้ส่งไป เพิ่นจึงตรัสบอกไว้ฮีตเก่าคองหลัง อย่าขาดได้ไปแท้สู่คน โอกาสนี้เพิ่นให้เที่ยวซอกค้นขุดก่นขุมบุญ เอาทุนไปภายหน้า เมื่อตายไปแล้วเป็นแนวนำเฮาขึ้นบันไดทองเทียวท่อง ขึ้นสู่ห้องชั้นฟ้าสวรรค์พุ้น อยู่เย็น ฝูงหมู่วิบากเว้นบ่มีว่าสิมาพาน เนาว์วิมานแสนทุกข์หายบ่มาใกล้
เดือนแปด ทำบุญเข้าพรรษาเป็นประเพณีทางพุทธศาสนาโดยตรง จึงคล้ายกับทาง ภาคอื่นๆ ของประเทสไทย เช่นมีการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์สามเณร มีการฟังธรรมเทศนาตอนบ่าย ชาวบ้านหล่อเทียนใหญ่ถวายเป็นพุทธบูชาและเก็บไว้ตลอดพรรษา การนำไปถวายวัดจะมีขบวนแห่ฟ้อนรำเพื่อให้เกิดความคึกคักสนุกสนาน ประเพณีแห่เทียนพรรษา ที่ยิ่งใหญ่แน่นอนต้องเป็นที่ จังหวัดอุบลราชธานี

เดือนเก้า
ฮีตหนึ่งนั้น พอเถิงเดือนเก้าแล้วเป็นกลางแห่งวัสสกาล ฝูงประชาชนชาวเมืองก็เล่า เตรียมตัวพร้อม พากันทานยังเข้าประดับดินกินก่อน ทายกทานให้เจ้าพระสงฆ์พร้อมอยู่ภาย ทำ จั่งซี้บ่ย้ายเถิงขวบปีมา พระราชาในเมืองก็จงทำแนวนี้ ฮีตหากมามีแล้ววางลงให้ถือต่อ จำไว้เด้อ พ่อเฒ่าหลานเว้ากล่าวจา
ทำบุญข้าวประดับดิน เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศแก่ญาติผู้ล่วงลับ เพื่อบูชาผีบรรพบุรุษและผีไร้ญาติ โดยชาวบ้านจะทำการจัดอาหาร ประกอบด้วยข้าว ของหวาน หมากพลู บุหรี่ ห่อด้วยใบตองกล้วย ร้อยเป็นพวง เตรียมไว้ถวายพระช่วงเลี้ยงเพล บางพื้นที่อาาจะนำห่อข้าวน้อย เหล้า บุหรี่ แล้วนำไปวางหรือแขวนไว้ตามต้นไม้หรือที่ใดที่หนึ่ง พร้อมทั้งกล่าว เชิญวิญญาณของบรรพบุรุษและญาติมิตรที่ล่วงลับไปมารับส่วนกุศลในครั้งนี้ ต่อมาใช้วิธีการกรวดน้ำหลังการถวายภัตตาหารพระสงฆ์แทน
เดือนสิบ
ฮีตหนึ่งนั้น เมื่อเทิงเดือนสิบแล้วทายกทอดบวยบาน เบิกพลีทำทานต่อมาสองซ้ำ ข้าว สลากนำไปให้สังโฆทานทอด พากันหวังยอดแก้วนิพพานพุ้นพ้นที่สูง ฝูงหมู่ลุงอาว์ป้าคณาเนือง น้อมส่ง ศรัทธาลงทอดไว้ทานให้แผ่ไป อุทิศให้ฝูงเปรตเปโต พากันโมทนานำสู่คนจนเกลี้ยง
เดือนสิบ ทำบุญข้าวสากหรือข้าวสลาก (สลากภัตร) ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบ ผู้ถวาย จะเขียนชื่อของตนลงในภาชนะที่ใส่ของทาน และเขียนชื่อลงในบาตร ภิกษุสามเณรรูปใดจับได้ สลากของใคร ผู้นั้นจะเข้าไปถวายของ เมื่อพระฉันเสร็จแล้ว มีการฟังเทศน์ เป็นการอุทิศให้แก่ ผู้ตายเช่นเดียวกับบุญข้าวประดับดิน
เดือนสิบเอ็ด
ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนสิบเอ็ดแล้วก็เป็นแวทางป่อง เป็นช่องของพระเจ้าเคยเข้าแล้ว อย่าเซา เดือนสิบเอ็ด ทำบุญออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด พระสงฆ์จะแสดงอาบัติ ทำการปวารณา คือการเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ต่อมาเจ้าอาวาสหรือพระผู้ใหญ่จะให้ โอวาทเตือนพระสงฆ์ ให้ปฏิบัติตนอย่างผู้ทรงศีลเป็นอันเสร็จพิธี พอตกกลางคืนมีการจุดประทีป โคมไฟ นำไปแขวนไว้ตามต้นไม้ในวัดหรือตามริมรั้ววัด จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญจุดประทีป ในจังหวัดนครพนมจะมีประเพณีการไหลเหลือไฟ ซึ่งตกแต่งด้วยตะเกียงน้ำมันก๊าดเป็นรูปต่างๆ สวยงามกลางลำน้ำโขง

เดือนสิบสอง
ฮีตหนึ่งนั้น เดือนสิบสองมาแล้วลมวอยหนาวสั่น เดือนนี้หนาวสะบั้นบ่คือแท้แต่หลัง ในเดือนนี้เพิ่นว่าให้ลงทอดพายเฮือ ซ่วงกันบูชา ฝูงนาโค นาคเนาว์ในพื้น ชื่อว่าอุชุพะนาโค เนาว์ ในพื้นแผ่น สิบห้าสกุลบอกไว้บูชาให้ส่งสะการ จงทำให้ทุกบ้านบูชาท่านนาโค แล้วลงโมทนาดอม ชื่นชมกันเล่น กลางเว็นกลางคืนให้ระงมกันขับเสพ จึงสิสุขอยู่สร้างสบายเนื้ออยู่เย็น ทุกข์ทั้งหลาย หลีกเว้นหนีห่างบ่มีพาน ของสามานย์ทั้งปวงบ่ได้มีมาใกล้ ไผผู้ทำตามนี้เจริญขึ้นยิ่งๆ ทุกสิ่งบ่ไฮ้ ทั้งข้าวหมู่ของ กรรมบ่ได้ถึกต้องลำบากในตัว โลดบ่มีมัวหมองอย่างใดพอดี้ มีแต่สุขีล้นครองคน สนุกยิ่ง อดในหลิงป่องนี้เด้อเจ้าแก่ชรา
เดือนสิบสอง เป็นเดือนส่งท้ายปีเก่าตามคติเดิม มีการทำบุญกองกฐินซึ่งเริ่มตั้งแต่วัน แรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ดถึงกลางเดือนสิบสอง แต่ชาวอีสานครั้งก่อนนิยมเริ่มทำบุญทอดกฐินกัน ตั้งแต่ข้างขึ้นเดือนสิบสอง จึงมักจะเรียกบุญกฐินว่า บุญเดือนสิบสอง สำหรับประชาชนที่อาศัย อยู่ตามริมฝั่งน้ำใหญ่ เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี จะมีการจัดส่วงเฮือ (แข่งเรือ) เพื่อระลึกถึง อุสุพญานาค ดังคำกลอนข้างต้น
บางแห่งทำบุญดอกฝ้ายเพื่อใช้ทอเป็นผ้าห่มกันหนาวถวายพระเณร จะมีพลุตะไล จุดด้วย บางแห่งทำบุญโกนจุกลูกสาวซึ่งนิยมทำกันมากในสมัยก่อน
ประเพณีที่กล่าวมานี้ถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง ตั้งแต่ เดือนอ้ายจนถึงเดือนสิบสอง ใครที่ไม่ไปช่วยงานบุญก็จะถูกสังคมตั้งข้อรังเกียจ และยังไม่คบค้า สมาคมด้วย การร่วมประชุมทำบุญเป็นประจำเช่นนี้ จึงทำให้ชาวอีสานมีความสนิทสนมรักใคร่กัน ไม่เฉพาะแต่ในหมู่บ้านของตนเท่านั้น แต่ยังสร้างความสามัคคีกันในหมู่บ้านใกล้เคียงอีกด้วย

คองสิบสี่
หมายถึง ครองธรรม 14 อย่าง เป็นกรอบหรือแนวทางที่ใช้ปฏิบัติระหว่างกัน ของผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง พระสงฆ์ และระหว่างบุคคลทั่วไป เพื่อความสงบสุขร่มเย็นของ บ้านเมือง คองสิบสี่มีหลายแบบหลายประเภท พอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้
คองสิบสี่แบบที่ 1 - กล่าวถึงผู้เกี่ยวข้องกับคองครัวในสังคมตลอดจนผู้มี่หน้าที่ปกครองบ้านเมือง
คองสิบสี่แบบที่ 2 - กล่าวถึงหลักการที่พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติในการปกคองบ้านเมือง และข้อที่ประชาชนควรปฏิบัติต่อพระมหากษัตริย์ และจารีตประเพณีที่พึงปฏิบัติให้บ้านเมืองสงบสุข
คองสิบสี่แบบที่ 3 - กล่าวถึงธรรมที่พระราชาพึงยึดถือปฏิบัติ และเน้นหนักให้ประชาชนปฏิบัติตามจารีตประเพณี และข้อที่คนในคองครัวพึงปฏิบัติต่อกัน
คองสิบสี่แบบที่ 4 - กล่าวถึงไปแนวทางฮีตบ้านคองเมือง คือการดำเนินการปกครองบ้านเมืองเพื่อ ให้บ้านเมืองอยู่เป็นสุขและปฏิบัติตามประเพณี

คอง (ครรลอง)

คือแบบแผนหรือแนวทางดำเนินชีวิตคล้ายๆ กับคำฝรั่งหนึ่งว่า "Way of life" แต่คองในที่นี้มุ่งไปทางศีลธรรมประเพณีที่ถูกผิดมากกว่าด้านอาชีพ เห็นจะตรงกับภาคกลางว่า ทำนองคองธรรม นั่นเอง แต่ชาวอีสานออกเสียงคลองเป็นคองไม่มีกล้ำ เช่นว่าถ้าทำไม่ถูกผู้ใหญ่ท่านจะเตือนว่า "เฮ็ดบ่แม่นคอง" หรือว่า "เฮ็ดให้ถือฮีตถือคอง" เป็นต้นฉบับของท่านเจ้าพระอริยานุวัตร มีคำฮีตนำหน้าด้วย คือ
1. ฮีตเจ้าคองขุน เป็นหลักสำหรับผู้ปกครองในสมัยโบราณ ขุนก็คือเจ้าเมือง เช่น ขุนเบฮม ขุนลอ ขุนทึง เป็นต้น (ภาคกลางก็มีเช่นพ่อขุนรามคำแหง)
2. ฮีตท้าวคองเพีย (เจ้าปกครองขุน)
3. ฮีตไพร่คองนาย (ไพร่ปฎิบัติต่อนาย)
4. ฮีตบ้านคองเมือง (ประเพณีของบ้านเมือง)
5. ฮีตปู่คองย่า
6. ฮีตตาคองยาย
7. ฮีตพ่อคองแม่ (พรหมวิหารธรรม)
8. ฮีตไภ้คองเขย (หลักปฎิบัติของลูกสะใภ้ลูกเขย)
9. ฮีตป้าคองลุง
10. ฮีตลูกคองหลาน
11. ฮีตเถ้าคองแก่ (ธรรมของผู้ชายที่มีต่อเด็ก)
12. ฮีตปีคองเดือน (คือฮีตสิบสองนั่นเอง)
13. ฮีตไฮ่คองนา
14. ฮีตวัดคองสงฆ์

วิชา การบริหารงานสาธารณสุขท้องถิ่น(Local Public Health Administration)

โจทย์ วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม 2552
สมมุติว่า ท่านได้ออกไปนิเทศงานร่วมกับทีมงานของจังหวัด โดยท่านได้ออกไปนิเทศงานในพื้นที่ อบต.บ้านในฝันของสาวหวึ่ง (เป็นชื่อของ อบต.)ท่านจะดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับท่านอย่างไรบ้าง (ให้สมมุติงานที่เกี่ยวข้องและสมมุติปัญหาที่เกิดขึ้นได้)
ส่ง เสาร์หน้า
วันเสาร์ที่ 31 มกราคม 52
การบริหารงานสาธารณสุขท้องถิ่น อาจารย์ ดร.ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์
รายงานกลุ่ม
เรื่อง 1 ความหมายและความสำคัญของการบริหารสาธารณสุข
กลุ่มที่ 1 นายธัญญกฤษฎ์
กลุ่มที่ 2 นายบุญเทียม
เรื่องที่ 2 กระบวนการบริหารสาธารณสุข
กลุ่มที่ 1 นางสีนีนาถ
กลุ่มที่ 2 นายกำพล
เรื่องที่ 3 ปัจจัยด้านทรัพยากรการสาธารณสุข
กลุ่มที่ 1 นายครรชิต
กลุ่มที่ 2
เรื่องที่ 4 ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการบริหารสาธารณสุข
กลุ่มที่ 1 นายทองหล่อ
กลุ่มที่ 2
เรื่อง ที่ 5 สถานการณ์และแนวโน้มของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
กลุ่มที่ 1 นายคำตัน
กลุ่มที่ 2 นายสุพงษ์
เรื่องที่ 6 พลวัตด้านสุขภาพ
กลุ่มที่ 1 นายประเสริฐ
กลุ่มที่ 2 นายอุดร
เรื่อง ที่ 7 แนวโน้มระบบสุขภาพ
กลุ่มที่ 1 นายพรชัย
กลุ่มที่ 2 นายชัยวัฒน์
เรื่องที่ 8 การปฏิรูประบบสุขภาพ
กลุ่มที่ 1 นายเปลี่ยน
กลุ่มที่ 2 นางสมลักษณ์
โดย
1. นางสมลักษณ์ พุ่มจันทร์ รหัส 49213205 เลขที่ 74
2. นายวานิช พานเงิน รหัส 49212648 เลขที่ 69
3. นายสมคิด แขมารัมย์ รหัส 49213025 เลขที่ 70
4. นายประภาส กาหลง รหัส 49211757 เลขที่ 73
5. นายชาญชัย กรรมจันทร์ รหัส 49210653 เลขที่ 33
6. นายสุริยา พันวัตร รหัส 49213784 เลขที่ 66
7. นายทินกร พุ่มจันทร์ รหัส 49211104 เลขที่ 34
8. นายทวี คงดี รหัส 49210994 เลขที่ 41
9. นางเยาวลักษณ์ จันทรพรม รหัส 49212493 เลขที่ 32
10. นายคิมหันต์ พิบูลย์บุญ รหัส 49210385 เลขที่ 67
11. นายมานะ สำเภาศรี รหัส 49212448 เลขที่ 35




ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ undow34110001@gmail.com (ถ้ามีจะจัดให้)

วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เครือข่าย internet ใช้ไม่ได้

ต้องขอโทษอย่างแฮงที่บ่อได้สรุปแนวข้อสอบวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติฯลงใน blog
เนื่องจาก เครือข่าย internet ใช้ไม่ได้
ส่วนวิชาต่อไปคือสิบ่อมีปัญหา
ผมกะทำข้อสอบบ่อได้คือกัน
ตรงที่บังคับทำ 10 คะแนน
ถ้าผมได้ 3 คะแนน กะบุญหัวแล้ว
หวังว่าทุคนคือสิทำได้