วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วิชาการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2551
การบ้าน

-ให้อธิบายประเภทของเงินอุดหนุนอย่างน้อย 2 ประเภท พร้อมยกตัวอย่างใน อปท.
อ.ปวีณา คำพุกกะ
วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน 2551
คำถาม
ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรต่อระบบการจัดเก็บภาษีในอปทของท่าน

คำถาม
การถ่ายโอนภารกิจที่คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้อปท.มีหน้าที่ที่ต้องทำอยู่ 6 ด้าน ท่านคิดว่าในอปท.ของท่านด้านใดมีปัญหาที่สุดเพราะเหตุใด

-ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
-ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต
-ด้านจัดระเบียบชุมชนสังคมและรักษาความสงบเรียบร้อย
-ด้านการวางแผนงาน การลงทุน พาณิชย์และการท่องเที่ยว
-ด้านบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญา
(อ.รัชนี แสงศิริ)
วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม 2551
โจทย์

1. ความเป็นอิสระทางการเงินการคลังของ อปท.หมายถึงอะไร
2. ให้ยกตัวอย่างการบริหารการเงินการคลังส่วนท้องถิ่นที่ไม่มีประสิทธิภาพใน อปท.ของท่านให้เสนอแนะวิธีแก้ไข
(อ.ดุสิต จักรศิลป์)
การบ้าน วันอาทิตย์ ที่ 24 สิงหาคม 2551
ข้อดี-ข้อเสียของการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.
ข้อดี
1. ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้ดี
2. แบ่งเบาภาระของกระทรวง ทบวง กรม
(ส่วนกลาง)
3. เป็นต้น
ข้อเสีย1. อาจเป็นภัยต่อเอกภาพการปกครองของประเทศ
2. ประชาชนอาจเห็นความสำคัญของท้องถิ่นมากกว่าประเทศชาติ
3. เป็นต้น

(อ.ปวีณา คำพุกกะ)

วิชาจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน 2551
บ่าย พระอาจารย์สว่าง กัลยาโณ
-จริยธรรม คือ ความประพฤติ
-ศีลธรรม คือ ความเป็นกลาง
-คุณธรรม คือ เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่
เป็นต้น ฯลฯ

เช้า งานกลุ่ม
- ถ้าท้องถิ่นของท่านเป็นเหมือน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านจะแก้ปัญหาอย่างไร
1.ภายใต้กรอบจริยธรรม
2.ภายนอกกรอบจริยธรรม
อ.วิภาพรรณ ตระกูลสันติรัตน์
วันเสาร์ที่ 13 กันยายน 2551
บ่าย ฟังพระเทศวัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี
สรุป
หัวใจของผ้บริหารสายพันธ์ใหม่

- ฉลาด
- รู้ดี
- ขยัน
- สามารถ
- สุภาพ
- กลยุทธ์
- ศรัทธา
- ความฝัน
- การลงมือทำ
- การทำอย่างต่อเนื่อง
- วิสัยทัศน์
- พันธกิจ
- กำไร
" สิ่งที่ควรทำคือ ความดี สิ่งที่ควรจำคือ คุณธรรม สิ่งที่ทำคือกตัญญู"

เช้า อ.วิภาพรรณ ไม่สอบ
วันเสาร์ที่ 6 กันยายน 2551
บ่าย
ฟังเทศ
พระราชภาวนาวิกรม วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

-สุขภาพจิต
-สุขภาพกาย
-การทำงาน
-ปัจจัยสี่
-ไฟดับ
-การมองโลกในแง่ดี
-ไฟดับ
ให้พร

เช้า
เก็บคะแนนเดี่ยว 10 คะแนน เช้า


* ให้เลือกความขัดแย้งดังต่อไปนี้เพียง 1 อย่างได้แก่
- ความขัดแย้งของอำนาจหน้าที่
- ความขัดแย้งของบทบาท
- ความขัดแย้งของผลประโยชน์

นำมาใช้อธิบายเหตุการณ์ที่พบได้บ่อยในการทำงานจากประสบการณ์จริงของนักศึกษา
วิเคราะห์ว่าเป็นเพราะเหตุใด
และจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร

(อ.วิภาพรรณ ตระกูลสันติรัตน์)

วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม 2551
โจทย์เช้า

ให้ใช้ประสบการณ์จากการทำงานในการบริหารท้องถิ่น เกี่ยวกับ
- ความรับผิดชอบในหน้าที่
- ความรับผิดชอบตามจิตสำนึก
ยกตัวอย่างและอธิบายเหตุผลมาให้เข้าใจ ว่ามันมีความขัดแย้งกันหรือไม่ในทางปฏิบัติและท่านมีวิธีการตัดสินใจอย่างไร
(อ.วิภาพรรณ)

บ่าย
คุณธรรม 10 ประการ สำหรับผู้บริหาร
(พระพุทธวราธิคุณ)

1. ทาน
2. ศีล
3. ปริจาคะ (บริจาค)
4. อาสะวะ (ความซื่อตรง)
5. มัธวะ (ความอ่อนโยน)
6. ตะบะ (การบำเพ็ญตะบะ)
7. ขันติ (ความอดทน)
8. วิหิงสา (ไม่เบียดเบียน)
9. อโกธะ (การไม่โกรธ)
10.อวิโรธะนะ (ไม่ฉุนเฉียว)

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

รายการและประเภทกีฬาทั้ง 13 รายการ

รายการและประเภทกีฬาทั้ง 13 รายการ
การแข่งขันกีฬา ออนซอนสิงห์เฒ่า ครั้งที่ 1
(ประจำปีการศึกษา 2551)
ประเภทกีฬา

1. วอลเลย์บอล (ชาย-หญิง)
2. แชร์บอล (เฉพาะหญิง)
3. ฟุตซอล (ชาย-หญิง)
4. ตระกร้อ (เฉพาะชาย)
5. กีฬาพื้นบ้าน ได้แก่
5.1 ปิดตาตีหม้อ(ชาย-หญิง)
5.2 เตะปี๊บ (เฉพาะชายที่อายุ 50 ขึ้นเท่านั้น)
5.3 เอวมันพันธุ์ซ่าส์ (เฉพาะชาย)
5.4 เม้าท์ทูเม้าท์ (ขึ้นอยู่กับแต่ละทีมว่าจะส่งนักกีฬาเพศใดร่วมแข่งขัน)
5.5 เหยียบไข่วัยมัน (แข่งเป็นคู่ ชาย 1 หญิง 1)
5.6 ประกวดหลีดเดอร์ (ขึ้นอยู่กับแต่ละทีมว่าจะส่งนักกีฬาเพศใดร่วมแข่งขัน)
การแข่งขันกีฬาแต่และประเภท จะแบ่งเป็น 4 ทีม คือ
รุ่น 1 ประกอบด้วย 3 ทีม แบ่งเป็น

1) ทีมห้อง 1 สี....
2) ทีมห้อง 2 สี....
3) ทีมห้อง 3 สี....
รุ่น 2 ประกอบด้วย 1 ทีม (รวม 2 ห้อง เป็น 1 ทีม) สี....
โดยแต่ละทีมจะประกอบไปด้วยนักกีฬา และกองเชียร์ กำหนดให้มีการแข่งขันใน
วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม 2551 เวลา 09.00 – 16.00 น. ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. วอลเลย์บอลชาย แบ่งเป็น 2 สาย สายละ 2 ทีม ทีมที่ชนะแต่ละสายเข้าชิง
ชนะเลิศในภาคบ่าย
2. วอลเลย์บอลหญิง แบ่งเป็น 2 สาย สายละ 2 ทีม ทีมที่ชนะแต่ละสายเข้าชิง
ชนะเลิศในภาคบ่าย
3. แชร์บอล หญิง แบ่งเป็น 2 สาย สายละ 2 ทีม ทีมที่ชนะแต่ละสายเข้าชิงชนะเลิศใน
ภาคบ่าย
4. ฟุตซอลชาย (ลงแข่งทีมละ 5 คน) แบ่งเป็น 2 สาย สายละ 2 ทีม ทีมที่ชนะแต่ละ
สายเข้าชิงชนะเลิศในภาคบ่าย
5. ฟุตซอลหญิง (ลงแข่งทีมละ 5 คน) แบ่งเป็น 2 สาย สายละ 2 ทีม ทีมที่ชนะแต่ละ
สายเข้าชิงชนะเลิศในภาคบ่าย
6. ตระกร้อชาย แบ่งเป็น 2 สาย สายละ 2 ทีม ทีมที่ชนะแต่ละสายเข้าชิงชนะเลิศใน
ภาคบ่าย
7. กีฬาพื้นบ้าน
7.1) ปิดตาตีหม้อชาย ส่งทีมละ 2 คน (แข่งรอบเดียวพร้อมกันทั้งหมด)
7.2) ปิดตาตีหม้อหญิง ส่งทีมละ 2 คน (แข่งรอบเดียวพร้อมกันทั้งหมด)
7.3) เตะปี๊บ เฉพาะชายที่อายุ 50 ขึ้นเท่านั้น(แข่งรอบเดียวพร้อมกันทั้งหมด)
7.4) เอวมันพันธุ์ซ่าส์ชาย (แข่งรอบเดียวพร้อมกันทั้งหมด)
7.5) เม้าท์ทูเม้าท์ ส่งทีมละ 10 คน ขึ้นอยู่กับแต่ละทีมว่าจะส่งนักกีฬา
เพศใดร่วมแข่งขัน (แข่งรอบเดียวพร้อมกันทั้งหมด)
7.6) เหยียบไข่วัยมัน ส่งทีมละ 1 คู่ (ชาย 1 หญิง 1) (แข่งรอบเดียวพร้อมกัน
ทั้งหมด)
7.7) ประกวดหลีดเดอร์ (ขึ้นอยู่กับแต่ละทีมว่าจะส่งนักกีฬาเพศใดร่วมแข่งขัน
อนุญาตให้บุคคลภายนอกมาร่วมประกวดในนามทีมใดทีมหนึ่งได้ โดยไม่จำกัดเงื่อนไขใดๆ เพื่อ
ความสนุกสนานครึกครื้น)
หมายเหตุ กฎ กติกา มารยาทในการแข่งขัน
- นักกีฬาที่มีสิทธิ์ลงแข่งขันในกีฬาทุกประเภท (ยกเว้นการประกวดหลีดเดอร์) ต้องเป็น
นักศึกษาของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น (โครงการพิเศษ)
คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลฯ ทั้ง 2 รุ่น เท่านั้น (หากจับได้ว่า มีการส่งบุคคลอื่นลงแข่งแทน ทีมนั้นจะถูก
ปรับแพ้ทันที)
- กีฬาแต่ละประเภท แต่ละทีมสามารถส่งนักกีฬาและตัวสำรองลงแข่งได้ไม่จำกัด
จำนวน
- การเปลี่ยนตัวของกีฬาแต่ละประเภท แต่ละทีมสามารถเปลี่ยนตัวสำรองลงแข่งได้ไม่
จำกัดครั้ง และจำนวน
รางวัลการแข่งขัน
- รางวัลชนะเลิศของแต่ละชนิดกีฬา
- รางวัลรองชนะเลิศของแต่ละชนิดกีฬา
- ประกาศนียบัตรสำหรับนักกีฬาที่เข้าร่วมกันการแข่งขันทุกคน

กำหนดการการแข่งขันกีฬา ออนซอนสิงห์เฒ่า ครั้งที่ 1

กำหนดการการแข่งขันกีฬา ออนซอนสิงห์เฒ่า ครั้งที่ 1
(ประจำปีการศึกษา 2551)
วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม 2551
08.30 น. ลงทะเบียน
09.00 น. - อ.ประเทือง ม่วงอ่อน รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และ
ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ กล่าวรายงานต่อศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ยุวัตน์
วุฒิเมธี (ประธานในพิธี)
- ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ยุวัตน์ วุฒิเมธี คณบดีคณะรัฐศาสตร์ กล่าว
เปิดงานและให้โอวาทแก่นักกีฬา

09.30-12.00 น. การแข่งขันกีฬาสากล (รอบคัดเลือก)
o วอลเลย์บอล (ชาย-หญิง)
o แชร์บอล (เฉพาะหญิง)
o ฟุตซอล(ชาย-หญิง)
o ตระกร้อ(เฉพาะชาย)
การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน (รอบคัดเลือก)
o ปิดตาตีหม้อ(ชาย-หญิง)
o เตะปี๊บ (เฉพาะชายที่อายุ 50 ขึ้นเท่านั้น)
o เอวมันพันธุ์ซ่าส์ (เฉพาะชาย)
o เม้าท์ทูเม้าท์
o เหยียบไข่วัยมัน
o ประกวดหลีดเดอร์
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ระหว่างอาจารย์ บุคลากร
นักศึกษา
13.00-15.00 น. การแข่งขันกีฬาสากล (รอบคัดเลือกต่อ)
15.00-16.00 น. การแข่งขันกีฬาสากล รอบชิงชนะเลิศ
16.00-16.30 น. พิธีมอบถ้วยรางวัลและพิธีปิดการแข่งขันกีฬา

วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551

บทที่ 3 ผลการพัฒนาท้องถิ่นในปีที่ผ่านมา

บทที่ 3 ผลการพัฒนาท้องถิ่นในปีที่ผ่านมา


จากการดำเนินงานตามแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม ปีงบประมาณ 2551 ได้
สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำแนกตามยุทธศาสตร์และแนวทางการ
พัฒนา ดังนี้


1. ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 3,197,000


แนวทางการพัฒนาที่ 1 ก่อสร้างและปรับปรุงบำรุงถนน สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำ
1 ซ่อมแซมถนนลูกรัง 100,000
2 ซ่อมแซมถนนคอนกรีต 100,000
3 ซ่อมแซมถนนลาดยาง 100,000
4 ซ่อมแซมศาลากลางบ้าน หมู่ที่ 9 50,000
5 ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก หมู่ที่ 2 100,000
6 ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก หมู่ที่ 6 500,000
7 ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก หมู่ที่ 7 206,000
8 ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก หมู่ที่ 8 500,000
9 ก่อสร้างถนนดิน หมู่ที่ 5 100,000
10 ก่อสร้างท่อลอดเหลี่ยม (บอล์คคอนเวอร์ท) 686,000
แนวทางการพัฒนาที่ 2 พัฒนาระบบจราจร -
แนวทางการพัฒนาที่ 3 ขยายเขตไฟฟ้า ติดตั้งไฟส่องสว่างในทางสาธารณะ
11 โครงการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าและขยายเขตไฟฟ้า หมู่ที่ 12 150,000
12 โครงการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าและขยายเขตไฟฟ้า หมู่ที่ 4,5 425,000
13 ค่าพาดสายไฟฟ้าสาธารณะทุกหมู่บ้าน 150,000
14 ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะ 30,000


2. ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ 127,250


แนวทางการพัฒนาที่ 1 การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน
15 โครงการจ้างนักเรียนนักศึกษา ทำงานในช่วงปิดภาคเรียน 40,000
16 ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) 17,250
17 ค่าจัดซื้อพันธุ์ต้นกล้ายูคาลิปตัส 70,000
แนวทางการพัฒนาที่ 2 ส่งเสริมและเพิ่มทักษะอาชีพของครัวเรือนและกลุ่มอาชีพ -
แนวทางการพัฒนาที่ 3 สร้างความตระหนักแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค -
แนวทางการพัฒนาที่ 4 สร้างตลาดร้านค้าชุมชน -


3. ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา 1,681,665


แนวทางการพัฒนาที่ 1 เพิ่มแหล่งรับรู้ข่าวสารที่ทันสมัยให้แก่ประชาชน

18 จัดซื้อหนังสือพิมพ์ 47,450
19 ค่าใช้จ่ายในการรับบริการอินเทอร์เน็ต 35,000
แนวทางการพัฒนาที่ 2 การฝึกอบรมและทุนการศึกษา
20 ระดับปริญญาตรี 318,000
21 ระดับปริญญาโท 60,000
แนวทางการพัฒนาที่ 3 การพัฒนาและการส่งเสริมการศึกษา
22 อุดหนุนโรงเรียนในเขตพื้นที่ 50,000
23 อุดหนุนค่าจัดซื้ออาหารกลางวัน ให้แก่ โรงเรียนประถม จำนวน 4 แห่ง รวม 377 คน 995,280
24 ค่าพาหนะเดินทางไป-กลับ ระหว่างหมู่บ้านถึงโรงเรียน ให้แก่ นักเรียน หมู่ที่ 1-13 150,000
ที่กำลังศึกษา ในโรงเรียนนาสะไมพิทยาคม ตำบลนาสะไม อำเภอตระการพืชผล
25 อุดหนุนค่าวัสดุการศึกษาเด็กเล็ก ศูนย์บ้านนาไฮ,น้ำคำ 18,135
26 ค่าวัสดุการศึกษาเด็กเล็ก ศูนย์บ้านหนองแดง 7,800


4. ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อม 1,282,000


แนวทางการพัฒนาที่ 1 จัดหาแหล่งน้ำ สำหรับการอุปโภค บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร
ให้แก่ประชาชน
27 ค่าจัดซื้อกระสอบเพื่อทำฝายกั้นน้ำ 35,000
28 ขุดลอกห้วยบ้าน หมู่ 2 98,000
29 ขุดลอกห้วยก้านเหลือง หมู่ 10 98,000
30 ขุดลอกหนองกะเสก หมู่ 3 198,000
31 ก่อสร้างฝายน้ำล้นห้วยไร่ (มข2527) หมู่ 5 489,000
32 ก่อสร้างฝายน้ำล้นห้วยม่วงตอนบน (มข2527) หมู่ 11 344,000
แนวทางการพัฒนาที่ 2 การพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ป่า
33 โครงการปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติ 20,000

5. ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต สตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ

และคนพิการ 4,593,759


แนวทางการพัฒนาที่ 1 เพิ่มโอกาส สิทธิ การเข้าถึงบริการของรัฐ ให้แก่สตรี เด็ก
เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ

34 จัดซื้อผ้าห่มกันหนาว (ผ้าใยสังเคราะห์) 90,000
35 เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2,892,000
36 เบี้ยยังชีพคนพิการ 324,000
37 เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ 66,000
38 เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ติดเชื้อเอดส์ 110,000
39 อุดหนุนเป็นค่าจัดซื้ออาหารกลางวันให้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 แห่ง 266,000
40 อุดหนุนค่าพาหนะนำส่งเด็กไปสถานพยาบาล 399
41 ค่าจัดซื้ออาหารเสริม(นม)ให้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 186,200
42 ค่าจัดซื้ออาหารเสริม(นม) ให้แก่ โรงเรียนประถม 479,160


5. ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต สตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ
และคนพิการ


แนวทางการพัฒนาที่ 2 การพัฒนาส่งเสริมสุขภาพและอนามัย

43 โครงการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานในเขต อบต.นาสะไม หมู่บ้านละ 10,000 บาท 130,000
44 ค่าจัดซื้อสารเคมีทางวิทยาศาสตร์ น้ำยาพ่นหมอกควัน ทรายอะเบท 50,000


6. ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น 70,000


แนวทางการพัฒนาที่ 1 สร้างจิตสำนึกและตระหนักถึงวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น

45 โครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีแห่เทียนพรรษา 40,000
แนวทางการพัฒนาที่ 2 สืบสานวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของประชาชน
46 กิจกรรมสืบสานงานประเพณีวันสงกรานต์ 30,000


7. ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการกีฬาและนันทนาการ 137,500


แนวทางการพัฒนาที่ 1 สร้างสนามกีฬา , จัดหาอุปกรณ์กีฬาและจัดฝึกอบรมด้านกีฬา

47 จัดซื้ออุปกรณ์กีฬา 97,500
แนวทางการพัฒนาที่ 2 จัดการแข่งขันกีฬา
48 โครงการแข่งขันกีฬาท้องถิ่นสัมพันธ์ 10,000
49 อุดหนุนเป็นค่าใช้จ่ายตามโครงการจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 24 30,000

8. ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเกษตร 275,500


แนวทางการพัฒนาที่ 1 สนับสนุนกลุ่มเกษตรกร

50 โครงการส่งเสริมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ 150,000
51 โครงการจัดซื้อโคพันธุ์ผสม จำนวน 8 ตัว 100,000
52 เครื่อง พ่นยากำจัดศัตรูพืช หรือพ่นยากำจัดหรือป้องกันเชื้อโรค 25,500
แนวทางการพัฒนาที่ 2 ส่งเสริมกิจการสหกรณ์ -

9. ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและการบริการประชาชน 405,033


แนวทางการพัฒนาที่ 1 การบริการประชาชนอย่างเท่าเทียม

53 จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเครื่องพรินเตอร์เลเชอร์ 44,000
54 โครงการฝึกอบรมหนึ่งตำบลหนึ่งทีมกู้ภัย 50,000
55 โครงการรักษาความปลอดภัยทางถนน เทศกาลปีใหม่ 25,000
56 โครงการรักษาความปลอดภัยทางถนน เทศกาลสงกรานต์ 25,000
57 โครงการฝึกอบรมบุคลากรและเจ้าหน้าที่ 20,000
58 ค่าจัดซื้อโต๊ะทำงานพร้อมเก้าอี้ จำนวน 3 ชุด ให้กับประธานสภาฯ,รองประธานสภาฯ, 7,500
เลขานุการสภาฯ
59 ค่าจัดซื้อชั้นวางแฟ้ม 3,933
60 ค่าจัดซื้อเต็นส์อเนกประสงค์ 100,000
61 ค่าปรับปรุงซ่อมซ่อมแซม อาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง 107,100
62 ค่าจัดซื้อโต๊ะคอมพิวเตอร์ พร้อมเก้าอี้ 2,500
แนวทางการพัฒนาที่ 2 การมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรทุกภาคส่วน
63 โครงการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาน 20,000

รวมทุกยุทธศาสตร์ 11,769,707

วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

บทที่ 2 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบล

บทที่ 2 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบล

2.1 ขนาดและที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 บ้านนาไฮ องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 90 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 56,250 ไร่ ห่างจากอำเภอตระการพืชผลเป็นระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร มีหมู่บ้านจำนวน 13 หมู่บ้าน เป็น 1 ใน 23 ตำบล ในเขต อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

2.2 อาณาเขต
องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม มีอาณาเขตพื้นที่อยู่ติดกับท้องถิ่นใกล้เคียง 4 ส่วน คือ เทศบาลตำบลพระเหลา, อบต.จานลาน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ, องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่ทุ่ง, องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่า และ องค์การบริหารส่วนตำบลเป้า ดังนี้
ทิศเหนือ - องค์การบริหารส่วนตำบลเป้า,หนองเต่า อำเภอตระการพืชผล
ทิศตะวันออก - องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่ทุ่ง อำเภอตระการพืชผล
ทิศตะวันตก - เทศบาลตำบลพระเหลา, อบต.จานลาน อำเภอพนา จ.อำนาจเจริญ
ทิศใต้ - องค์การบริหารส่วนตำบลไหล่ทุ่ง,จานลาน


2.3 ลักษณะภูมิประเทศ
องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า แอ่งโคราช (Korat basin)โดยสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 68 เมตร (227 ฟุต) ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่สูงสลับต่ำมีลักษณะพื้นที่ เป็นที่ราบสลับลูกคลื่นมีลำห้วยขนาดกลางไหลผ่าน

2.4 สภาพภูมิอากาศ
องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม จัดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบ Tropical Savanha : “Aw” ตามระบบจำแนกประเภท ภูมิอากาศของ Koppen คือมีช่วงความแตกต่างของฤดูฝนและฤดูแล้งอย่างชัดเจน มีช่วงกลางวันยาวในฤดูร้อนและมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงตลอดปีอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ(มรสุมฤดูหนาวและฤดูแล้ง) และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (มรสุมฤดูร้อนและฤดูฝน)ลักษณะภูมิอากาศที่เด่นเฉพาะคือ เนื่องจากอยู่ใกล้ทางผ่านของพายุหมุนดีเปรสชั่น จึงทำให้มีฝนตกชุกซึ่งมีฝนตกมากกว่า 1,400-1,800มิลลิเมตร นอกจากนี้ยังมีพายุฝนฟ้าคะนองที่มีอัตราความเร็วสูงสุดเคยวัดได้ขนาด 67 - 80 นอต ซึ่งเร็วมากกว่าพายุใต้ฝุ่นที่เคยวัดได้ในจังหวัดอุบลราชธานี ลักษณะฤดูกาลโดยปกติตามมาตรฐานภูมิศาสตร์สากลจะมีเพียงฤดูเดียว คือฤดูร้อนทั้งร้อนชื้นและร้อนแห้งแล้ง แต่ถ้าจำแนกตามภูมิศาสตร์ของภูมิภาค สามารถแบ่งได้ 3 ฤดูกาล ดังนี้
ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงกลางเดือนตุลาคมและมักปรากฏเสมอว่าฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม แต่ระยะทิ้งช่วงจะไม่เหมือนกันในแต่ละปี ซึ่งในช่วงปลายฤดูฝนมักจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านหรือเข้าใกล้ ทำให้มีฝนตกชุกและบางปีอาจเกิดภาวะน้ำท่วม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,581 มิลลิเมตร
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยอุณหภูมิจะลดลงตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมเป็นต้นไปและจะหนาวมากในช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม ในฤดูนี้จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดเอาความหนาวเย็นและแห้งเข้ามาปกคลุม อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยในฤดูหนาว ประมาณ 19 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศจะเริ่มร้อนขึ้นตามลำดับ และอาจมีฝนตกบ้างเป็นบางวันแต่ปริมาณไม่มากนักไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในฤดูนี้มักจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยในฤดูร้อน ประมาณ 35 องศาเซลเซียส และสูงที่สุดที่เคยวัดได้ 41.3 องศาเซลเซียส


2.5 เขตปกครอง

องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม มีจำนวนหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เต็มทั้งหมู่บ้าน จำนวน 13 หมู่บ้าน

2.6 ประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม มีประชากรทั้งสิ้น 6,023 คน แยกเป็นชาย 2,962 คน แยกเป็น หญิง 3,061 คน จำนวนหลังคาเรือน 1,336 หลังคาเรือน

2.7 สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม ประกอบอาชีพหลายอาชีพ เช่น ทำการเกษตร รับจ้างทั่วไป ค้าขาย เลี้ยงสัตว์ และรับราชการ


2.8 หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
- ปั้มน้ำมันและก๊าซ 4 แห่ง
- อุตสาหกรรมในครัวเรือน 1 แห่ง
- โรงสี 33 แห่ง
- ร้านค้า 43 แห่ง - ตลาดนัด 1 แห่ง


2.9 (ข้อมูลส่วนบุคคล)

2.10 การศาสนา
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม นับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่และมีสถาบันและองค์กรทางศาสนา จำนวน 7 แห่ง ดังนี้
1) วัดศิริธรรมวนาราม ตั้งอยู่ที่ บ้านนาสะไม หมู่ที่ 1
2) วัดปัจฉิมมณีวัน ตั้งอยู่ที่ บ้านนาไฮ หมู่ที่ 2
3) วัดบ้านคำผักแว่น ตั้งอยู่ที่ บ้านคำผักแว่น หมู่ที่ 3
4) วัดสุวรรณาราม ตั้งอยู่ที่ บ้านน้ำคำ หมู่ที่ 4
5) วัดอโนดาษ ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองแดง หมู่ที่ 6
6) วัดอุตะกะวารี ตั้งอยู่ที่ บ้านกุดฮู หมู่ที่ 10
7) วัดบ้านสมบูรณ์ ตั้งอยู่ที่ บ้านสมบูรณ์ หมู่ที่ 8


2.11 การบริการพื้นฐาน
1) การโทรคมนาคม
1.1) ที่ทำการไปรษณีย์เอกชน จำนวน 1 แห่ง
1.2) ชุมสายโทรศัพท์ขององค์การฯ จำนวน 2 แห่ง
1.3) ตู้โทรศัพท์ จำนวน 15 ตู้
2) การไฟฟ้า
องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม มีระบบการไฟฟ้าครอบคลุมทั่วถึงทั้งตำบล ประชากรมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือนทำให้ประชาชนมีสิ่งอำนวยความสะดวก คือ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เกือบครบทุกครัวเรือน
3) ระบบประปา
องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม ได้รับการบริการด้านการประปาจากระบบประปาหมู่บ้านซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก รพช. กรมโยธา และองค์การบริหารส่วนตำบล มีประปาใช้จำนวนประมาณ 1,000 ครัวเรือน และอีก จำนวน 193 ครัวเรือน มีบ่อบาดาลใช้ในครัวเรือน
4) การคมนาคม
1) ถนนคอนกรีต 25 เส้น ระยะทาง 15,000 เมตร
2) ถนนลาดยาง 4 เส้น ระยะทาง 22,000 เมตร
3) ถนนลูกรัง 15 เส้น ระยะทาง 20,000 เมตร
4) ถนนดิน 20 เส้น ระยะทาง 20,000 เมตร

2.12 การศึกษา
ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม มีโรงเรียนในพื้นที่ระดับประถมศึกษาจำนวน 4 แห่ง , โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง และ ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์จำนวน 3 แห่ง ดังนี้
1) โรงเรียนบ้านนาไฮ ตั้งอยู่ บ้านนาไฮ หมู่ที่ 2
2) โรงเรียนบ้านหนองแดง ตั้งอยู่ บ้านหนองแดง หมู่ที่ 6
3) โรงเรียนบ้านน้ำคำ ตั้งอยู่ บ้านน้ำคำ หมู่ที่ 4
4) โรงเรียนบ้านสมบูรณ์ ตั้งอยู่ บ้านสมบูรณ์ หมู่ที่ 8
5) โรงเรียนนาสะไมพิทยาคม ตั้งอยู่ บ้านนาสะไม หมู่ 1
6) ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์วัดปัจฉิมมณีวัน ตั้งอยู่ บ้านนาไฮ หมู่ 2
7) ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์บ้านใหม่เจริญ ตั้งอยู่บ้านใหม่เจริญ หมู่ 7
8) ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์บ้านหนองแดง ตั้งอยู่บ้านหนองแดง หมู่ 6

2.13 การสาธารณสุข
องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม มีศูนย์สุขภาพชุมชน ประจำตำบล 1 แห่ง คือ ศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านน้ำคำ ตั้งอยู่ที่ บ้านน้ำคำ หมู่ที่ 4

2.14 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
1) ป่าไม้ชุมชน 2 แห่ง
2) ป่าช้าสาธารณะ 6 แห่ง
3) ที่เลี้ยงสัตว์สาธารณะ 5 แห่ง
4) ที่ดินสาธารณะ 21 แห่ง

2.15 ข้อมูลบุคลากร (ข้อมูลส่วนบุคคล)

2.16 รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ประจำปีงบประมาณ 2550 เป็นจำนวน 20,400,283.26 บาท
รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง 238,442.81 บาท
รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ จัดเก็บให้ 8,782,230.85 บาท
เงินอุดหนุน 3,926,370.00 บาท
เงินอุดหนุนที่รัฐบาลให้โดยระบุวัตถุประสงค์ 7,453,239.60 บาท


2.17 ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
1) การรวมกลุ่มของประชาชน
- อำนวยกลุ่มทุกประเภท 28 กลุ่ม
แยกประเภทกลุ่ม
- กลุ่มอาชีพ 13 กลุ่ม
- กลุ่มออมทรัพย์ 13 กลุ่ม
- กลุ่มอื่น ๆ 3 กลุ่ม
2) จุดเด่นของพื้นที่
พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม ประกอบด้วยที่ราบมีลำห้วย ขนาดกลางไหลผ่าน มีทางหลวงแผ่นดินสองสาย เชื่อมต่อ หลายอำเภอ ทางทิศเหนืออำเภอกุดข้าวปุ้น ไปจนถึงจังหวัดมุกดาหาร ทิศตะวันตกอำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ ทิศตะวันออกจดอำเภอโขงเจียม และประเทศลาว เอื้ออำนวยต่อภาคเกษตรกรรมและการค้าอย่างยิ่ง

แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2552-2554) องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม

แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2552 - 2554)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม
อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
…………………..
บทที่ 1 บทนำ
1.1 ลักษณะของแผนพัฒนาสามปี
แผนพัฒนาสามปี เป็นการแปลงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาหนึ่งๆ จะมีแนวทางการพัฒนาได้มากกว่าหนึ่งแนวทาง และภายใต้แนวทางการพัฒนาหนึ่ง จะมีโครงการ/กิจกรรมได้มากกว่าหนึ่งโครงการ/กิจกรรมที่จะต้องนำมาดำเนินการ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการในแต่ละยุทธศาสตร์การพัฒนา ซึ่งจะมีผลต่อวัตถุประสงค์เป้าหมาย จุดมุ่งหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และวิสัยทัศน์ในที่สุด

1.2 วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี
แผนพัฒนาสามปี เป็นแผนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี กล่าวคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ใช้การวางแผนพัฒนาเป็นเครื่องมือในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยนำโครงการ/กิจกรรมจากแผนพัฒนาสามปี ในปีที่จะจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ไปจัดทำงบประมาณ เพื่อให้กระบวนการจัดทำงบประมาณเป็นไปด้วยความรอบคอบและผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม(Participatory) ของประชาชน

1.3 ขั้นตอนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี
จากการที่ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาในแผนยุทธศาสตร์ หลัง
จากนั้นถึงขั้นตอนในการแปลงสู่การปฏิบัติโดยการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ซึ่งได้ดำเนินการตามขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาสามปี จำนวน 7 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการจัดทำแผน
1.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล (ผู้รับผิดชอบการจัดทำแผนพัฒนา) พบผู้บริหารท้องถิ่นชี้แจง วัตถุประสงค์ ความสำคัญและความจำเป็นในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี เพื่อให้ผู้บริหารทราบถึงภารกิจ (Mission) ที่จะต้องดำเนินการต่อไปพร้อมทั้งเสนอโครงการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ห้วงปี 2552-2554 เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นอนุมัติ (โครงการดังกล่าวจะเป็นการกำหนดทรัพยากรในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี และกำหนดปฏิทินการทำงานไว้อย่างชัดเจน
2. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล (ผู้รับผิดชอบการจัดทำแผนพัฒนา) แจ้งโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ได้แก่
-คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล
-คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล
-สำนักงานปลัด อบต. , ส่วนการคลัง,ส่วนการศึกษาและส่วนโยธา
-ประชาคม (Civil Society)

ขั้นตอนที่ 2 การคัดเลือกยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
1.คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล สรุปข้อมูลจากยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนา ปัญหาความต้องการของท้องถิ่น รวมทั้งสรุปยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดอุบลราชธานี/อำเภอตระการพืชผล และนโยบายของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม เพื่อนำมาเสนอต่อคณะกรรมการการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล
2.คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล จัดการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ประชาคมตำบล และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิจารณาโดยในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2552-2554) เพื่อเป็นกรอบในการพิจารณาจัดทำโครงการ/กิจกรรมในแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2552-2554) ต่อไป
3.เมื่อได้กำหนดแนวทางการพัฒนาแล้ว พิจารณาว่าจะมีโครงการ/กิจกรรมที่จะต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแนวทางการพัฒนาที่คัดเลือกเป็นกรอบในการพัฒนา
4.การพิจารณากำหนดกิจกรรม ได้แยกประเภทของโครงการออกเป็น 3 ประเภท คือ
4.1 โครงการที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม ดำเนินการเอง (มีขีดความสามารถทั้งทางด้านกำลังเงิน กำลังคน วัสดุอุปกรณ์ และความรู้ทางด้านการบริหารจัดการที่จะดำเนินการได้เอง)
4.2 โครงการที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม อุดหนุนให้หน่วยงานอื่นดำเนินการ (เป็นงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่แต่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม ไม่ประสงค์จะดำเนินการจึงได้มอบให้หน่วยงานอื่นดำเนินการแทนโดยตั้งงบประมาณเป็นเงินอุดหนุน)
4.3 โครงการที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นทั้งจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ (เนื่องจากเป็นโครงการใหญ่ หรือเป็นโครงการที่หน่วยงานดังกล่าวมีหน้าที่จัดบริการสาธารณะอยู่แล้ว)

ขั้นตอนที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
1.การเก็บรวบรวมข้อมูล
คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ได้ดำเนินการสำรวจและจัดเก็บรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่อการจัดทำแผนพัฒนาสามปี รวมทั้งวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การพัฒนา แนวทางการพัฒนาที่เลือก และประการสำคัญคือ ข้อมูลภายในองค์กรและข้อมูลภายนอกองค์กร เพื่อสามารถนำมาวิเคราะห์ตามหลักเทคนิค SWOT Analysis
2.การวิเคราะห์ข้อมูล
คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งในการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวจะมี 4 กิจกรรมหลักๆ คือ
2.1 การประเมินผลการพัฒนาที่ผ่านมา
2.2 การคัดเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนา
2.3 การจัดลำดับความสำคัญของแนวทางการพัฒนา
2.4 การตัดสินใจเลือกแนวทางการพัฒนาในห้วงสามปี

ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนา
1.เมื่อได้แนวทางการพัฒนาในช่วงสามปีแล้ว ประชุมร่วมกันพิจารณาการคัดเลือกวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์การพัฒนา มาจัดทำเป็นวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนา โดยพิจารณาการคัดเลือกวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์การพัฒนาจากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี โดยนำวัตถุประสงค์ดังกล่าวมาจัดทำเป็นวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี
2.ประชุมร่วมกันพิจารณากำหนดโครงการ/กิจกรรม การพัฒนาที่จะต้องดำเนินการตามแนวทางที่คัดเลือก

ขั้นตอนที่ 5 การจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมการพัฒนา
คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลพิจารณาการคัดเลือกโครงการที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปีมาจัดทำรายละเอียดโครงการ ในด้านเป้าหมาย ผลผลิต ผลลัพธ์ งบประมาณ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ และตัวชี้วัดความสำเร็จโดยเน้นรายละเอียดของกิจกรรมที่จะดำเนินการในปีแรก (พ.ศ.2552) ของแผนพัฒนาสามปี เพื่อสามารถนำไปจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 ได้ต่อไป

ขั้นตอนที่ 6 การจัดทำร่างแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2552-2554)
1.คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล จัดทำร่างแผนพัฒนา สามปี (พ.ศ.2552-2554) โดยมีเค้าโครงร่างประกอบด้วย 7 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 บทนำ
ส่วนที่ 2 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม
ส่วนที่ 3 สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นในปีที่ผ่านมา
ส่วนที่ 4 ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในช่วง สามปี
ส่วนที่ 5 บัญชีโครงการพัฒนา
ส่วนที่ 6 การติดตาม และประเมินผลการนำแผนพัฒนาสามปีไปปฏิบัติ
2.คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล จัดเวทีประชาคม ซึ่งในการประชาคมนั้นประกอบด้วย คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ประชาคมตำบล และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ในการเสนอร่างแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2552-2554) และรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2552-2554)ให้สมบูรณ์ต่อไป
3.คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล นำร่างแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2552-2554) ที่ผ่านการประชาคมตำบลที่ปรับปรุงแล้วเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อพิจารณา

ขั้นตอนที่ 7 การอนุมัติและประกาศใช้แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2552-2554)
1.คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล เสนอร่างแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2552-2554) ที่ผ่านการพิจารณาให้ผู้บริหารท้องถิ่น (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล) เสนอต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม
2.ผู้บริหารท้องถิ่น (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล) นำร่างแผนพัฒนาสามปีที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะไม
3.ประกาศใช้แผนพัฒนาสามปี และนำไปปฏิบัติ และแจ้งให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมการพัฒนาจังหวัด (กพจ.) คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ (กพอ.) คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น คณะอนุกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่น ทราบ และประกาศให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบโดยทั่วกัน

1.4 ประโยชน์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี
ในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลนั้น เป็นการพิจารณาและกำหนดแนวทางปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายที่พึงประสงค์ และเป็นการคาดเดาเหตุการณ์ต่างๆในอนาคต และตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด โดยผ่านกระบวนการคิดก่อนทำ (ความพยายามที่เป็นระบบ) เป็นการลดความไม่แน่นอนและปัญหาความยุ่งยากซับซ้อนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต, ทำให้เกิดการยอมรับแนวคิดใหม่ๆเข้ามาในองค์การ, ทำให้การดำเนินการขององค์การบรรลุถึงเป้าหมายที่ปรารถนา, ลดความสูญเปล่าของหน่วยงานที่ซ้ำซ้อนเพราะการวางแผนทำให้มองเห็นภาพรวมขององค์การที่ชัดเจน และยังเป็นการอำนวยประโยชน์ในการจัดระเบียบขององค์การให้มีความเหมาะสมกับลักษณะงานมากยิ่งขึ้น และทำให้เกิดความแจ่มชัดในการดำเนินงาน เนื่องจากการวางแผนเป็นการกระทำโดยอาศัยทฤษฎี (Theory) หลักการ (Concept) และงานวิจัยต่างๆ (a rational approach) มาเป็นตัวกำหนดจุดมุ่งหมาย และแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในอนาคต กล่าวได้ว่า ไม่มีองค์กรใดที่ประสบความสำเร็จได้ โดยปราศจากการวางแผน ดังนั้นการวางแผนจึงเป็นภารกิจอันดับแรกที่มีความสำคัญของกระบวนการจัดการที่ดี และการวางแผนพัฒนาสามปีที่ดีย่อมส่งผลให้เกิดประโยชน์ดังต่อไปนี้
1.บรรลุจุดมุ่งหมาย (Attention of Objective) มีทิศทางไปยังจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้โดยอย่างสะดวกและเกิดผลดี
2.ประหยัด (Economic Operation) ทำให้ฝ่ายต่างๆมีการประสานงาน มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆ อย่างคุ้มค่า เป็นการลดต้นทุนก่อให้เกิดการประหยัดแก่องค์กร
3.ลดความไม่แน่นอน (Reduction of Uncertainty) การวางแผนที่มีประสิทธิภาพเป็นผลมาจากการวิเคราะห์พื้นฐานของข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นแล้ว ทำการคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต และได้หาแนวทางพิจารณาป้องกันเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นไว้แล้ว
4.เป็นเกณฑ์ในการควบคุม (Basis of Control) ถ้าไม่มีการวางแผนก็ไม่สามารถมีการควบคุม กล่าวคือ แผนกำหนดจุดมุ่งหมายและมาตรฐานการปฏิบัติงานในหน้าที่การควบคุม
5.ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมและการสร้างสรรค์ (Encourages innovation and Creativity)การวางแผนเป็นพื้นฐานด้านการตัดสินใจและเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดแนวความคิดใหม่ๆ (นวัตกรรม) และความคิดสร้างสรรค์
6.พัฒนาแรงจูงใจ (Improves Motivation) การวางแผนยังเป็นเครื่องมือฝึกและพัฒนาแรงจูงใจที่ดีสำหรับผู้บริหารในอนาคต
7.พัฒนาการแข่งขัน (Improves Competitive Strength) การวางแผนจะเกี่ยวข้องกับการขยายขอบข่ายการทำงาน เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน ปรับปรุงสิ่งต่างๆให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
8.ทำให้เกิดการประสานงานที่ดี (Better Coordination) กิจกรรมต่างๆที่จัดวางไว้มุ่งไปสู่จุดหมายเดียวกันมีการจัดประสานงานในฝ่ายต่างๆขององค์การเพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนในงานแต่ละฝ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบล


**********************************